ทักษะการจัดการความวอกแวก… ทักษะแห่งอนาคต

เป็นที่รู้กันว่าปัญหาของคนในปัจจุบันมักจะมีปัญหาเรื่อง Nomophobia หรือโรคติดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง โดยสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจาก Distraction หรือ สิ่งที่เบี่ยงเบนจากสิ่งที่เราตั้งใจ เช่น เราตั้งใจว่าจะทำงานประมาณ 2 ช.ม. แต่ใน 2 ช.ม. นั้น เรากลับไปเช็คมือถือ เล่นเฟซบุ๊ค ตอบไลน์ จนไม่ได้ทำงาน

จากยุคสมัยของการทำงานที่รายล้อมไปด้วย Notification และ Content มากมายที่จะทำให้เราไม่ Focus กับงานที่ทำอยู่แล้วยังมีแนวโน้มที่จะเสพติดจนส่งผลเสียกับชีวิต ดังนั้น คนที่มีทักษะในการควบคุมหรือจัดการกับความวอกแวกนี้จะมีโอกาสที่ประสบความสำเร็จสูงกว่าอย่างแน่นอน

แล้วเราจะมีวิธีการจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร ผมได้ไปฟัง Decode podcast ในตอน “เราจะจัดการกับอาการวอกแวกอย่างไร” ซึ่งคุณโตมรได้ทำการเล่าจากหนังสือ Indistractable: How to Control Your Attention and Choose Your Life แล้วน่าสนใจมาก จึงอยากมาสรุปในที่นี้ครับ

สาเหตุอาการวอกแวกมี 2 ปัจจัย ครับ

1. ปัจจัยภายนอก (External Trigger)

โดยหลักๆจะเกิดจาก Social Media ที่มี Feature สำคัญอย่าง Notification ทำให้เราเสพติดกับเรื่องราวที่น่าสนใจจนไม่เป็นอันทำงาน

2. ปัจจัยภายใน (Internal Trigger)

โดยในหนังสือบอกว่าเกิดจากความรู้สึกที่เราต้องการหลีกหนีจากความทุกข์ ณ ตอนนั้น ซึ่งไม่ได้เป็นแรงพลักดันที่ดี เพราะจริงๆแล้วเราไม่ได้ทำมันเพื่อความสุข แต่ทำเพื่อเป็นการ “ต่อเวลา” ให้เราไม่ทำกิจกรรมที่ทำให้เรารู้สึกแย่

เมื่อรู้สาเหตุแล้ว วิธีแก้จะใช้การ Set ระบบเพื่อมาควบคุมพฤติกรรมของเราเอง ซึ่งหากแบ่งตามสาเหตุจะมีวิธีแก้ดังนี้ครับ

– การจัดการอาการวอกแวกจากปัจจัยภายใน มีอยู่ด้วยกัน 4 วิธี เรียงจากไม้เบาไปหนัก

1. Reclaim คือการปรับตั้งค่าแอฟให้ปิด Notification หรือจำกัดเวลาการใช้งาน
2. Rearrange คือการจัดหน้าตาของหน้าจอใหม่ เช่น ย้ายแอฟ Social media จาก Home Page ไปไว้หน้าท้ายๆ
3. Replace คือการหาแอฟอื่นมาทดแทนที่มีประโยชน์มากกว่า เช่น เราอาจจะเล่น Facebook เป็นหลักก็อาจจะลองเปลี่ยนมาใช้ LinkedIn ที่มักมี Content ที่ช่วยให้เราพัฒนาตัวเองได้ดีกว่าก้ได้
4. Remove คือวิธีการหักดิบ หรือลบแอฟนั้นทิ้งไปเลย

– การจัดการอาการวอกแวกจากปัจจัยภายนอก มีเทคนิค 3 ขั้นตอน คือ

1. หาสาเหตุ

ขณะที่เรากำลังจะวอกแวก ให้ตั้งสติและสำรวจความรู้สึกตอนนั้นว่าเกิดอะไรขึ้นกับเรา ทำไมเราถึงอยากเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น

2. บันทึกความรู้สึก

ไม่ต้องจดละเอียดมาก แต่ทำเหมือนบันทึกรายรับรายจ่าย คือรู้สึกอะไร กำลังทำอะไร และเกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาไหนของวัน

3. คิดถึงคุณค่าของสิ่งที่เราทำ

คิดถึงประโยชน์หรือผลลัพธ์ของสิ่งที่เราทำอยู่ว่าคืออะไร หากเปลี่ยนไปทำสิ่งที่อยากทำจะส่งผลกับเราอย่างไร
กระบวนการนี้จะช่วยให้เราจัดการความรู้สึกก่อนที่เราจะ Take Action นั้น ซึ่งความจริงแล้วมันคือการให้เรามาตั้งสติและอยู่กับปัจจุบันนั้นเองครับ

หากใครอ่านแล้วมีอาการแบบนี้เหมือนกัน หรือมีเทคนิคดีๆ ก็สามารถแชร์กันได้นะครับ 

More To Explore

CONTACT US

Let's get in touch!

info@resubae.com

Submission received! We’ll get back to you within 1-2 days.